วันจันทร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2551

การทำผ้าบาติก

วัสดุ - อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำผ้าบาติก
ประกอบด้วย
1. กรอบไม้
2. พาราฟิน(หรือเรียกว่าเทียนก็ได้)
3. จันติ้ง(สำหรับตักน้ำเทียนเขียนลายลงบนผ้า)
4. โซเดียมซิลิเกต(เป็นน้ำยากันสีตก)
5. ผ้ามัสลิน(หรือผ้าที่ทำจากใยธรรมชาติ)
6. สีย้อมผ้าบาติก
7. พู่กัน,แปรงขนกระต่าย
8. ภาชนะสำหรับต้ม เช่น หม้อต้มเทียน,หม้อต้มน้ำ,เตาสำหรับต้ม ฯลฯ

ลำดับขั้นตอนการทำผ้าบาติก

1. ขั้นตอนการขึงผ้ากับกรอบไม้
2. ขั้นตอนนี้เป็นการเขียนลายลงบนผ้า
3. ขั้นตอนนี้เป็นการเขียนเทียนลงบนผ้า
4. ขั้นตอนนี้ลงสีที่ภาพให้สวยงาม
5. ขั้นตอนนี้ทาเคลือบด้วยน้ำยาโซเดียมซิลิเกตเพื่อป้องกันสีตก
6. ขั้นตอนนี้ต้มผ้าให้เทียนละลายออก

7. ผลงานที่ทำเสร็จเรียบร้อยแล้วค่ะ

8. ผลงานอีกชิ้น ที่ทำเส็จแล้วค่ะ









วันพุธที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2551

การทำดอกมะลิจากผ้าใยบัว

วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนานักเรียนให้มีความรู้ในการประดิษฐ์ดอกไม้จากผ้าใยบัวได้
2. ผู้เรียนมีทักษะในการทำงาน และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
3. เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์และใช้ในชีวิตประจำวันได้
4. เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนและนำไปประกอบอาชีพได้
เป้าหมาย
1. นักเรียนโรงเรียนเนินสง่าวิทยา 2. ชุมชนตำบลหนองฉิม อ.เนินสง่า ผู้ปกครอง และผู้ที่สนใจ
การดำเนินงาน
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติการประดิษฐ์ดอกไม้จากผ้าใยบัว
1. ให้นักเรียนได้เรียนรู้ภาคทฤษฎีจนมีความรู้ในการประดิษฐ์ดอกไม้จากผ้าใยบัว
2. ให้นักเรียนได้เรียนรู้โดยการปฏิบัติจริงในการประดิษฐ์ดอกไม้จากผ้าใยบัว
3. ให้นักเรียนได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์และมีความชำนาญในการประดิษฐ์ดอกไม้จากผ้าใยบัว
4. ให้โรงเรียนเป็นแหล่งวิทยาการของชุมชนและนำความรู้ไปประกอบอาชีพ

วัสดุ-อุปกรณ์
๑. ลวดสีขาว เบอร์ 26 ถ้าไม่มี ใช้สีเงินแทนก็ได้จ๊ะ สำหรับทำดอก
๒. ลวดสีเขียว เบอร์ 24 สำหรับทำใบ
๓. ผ้าใยบัว สีขาว หรือ สีครีม สำหรับ ทำดอก
๔. ผ้าใยบัวสีเขียวสำหรับ ทำใบ
๕. ฟลอร่าเทป สีเขียว และ สีเขียวอ่อน
๖. สำลี สำหรับทำดอกตูม
๗. พลาสติกวงกลม ที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑.๕ เซนติเมตร สำหรับทำดอก และ ท่อวงกลมที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๔ เซนติเมตร สำหรับทำใบ

ขั้นตอนการทำ
1. เริ่มจากการตัดลวดยาว ๑๐ เซนติเมตร มาพันรอบวงกลมที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑.๕ เซนติเมตร จำนวน ๒๔ เส้น ต่อ ดอก เราก็จะได้กลีบดอกทั้งหมด ๒๔ กลีบ ต่อ ดอกมะลิ หนึ่ง ดอก
2. หลังจากทำเป็นวงกลมเสร็จแล้ว ให้ดัดลวดให้เป็นรูปเหมือนวงรี ต่อด้วยการหุ้มด้วยผ้าใยบัว ตามรูปนะคะ
3. ต่อด้วย ดอกตูม ใช้สำลีมาตุ้มเป็นดอกตูมและห่อด้วยผ้าใยบัวสองรอบ ถ้าจะทำเฉพาะดอกตูม ก็ให้ใช้ฟลอร่าเทปสีเขียวอ่อนพันจากดอกตูมลงมา ๑เซนติเมตรและพันต่อด้วยฟลอร่าเทปสีเขียวแก่จนสุดปลายลวด
4. กลีบใบ ตัดลวดยาว ๒๐ เซนติเมตร ๒ เส้น ต่อ ดอก
5. นำมาพันรอบท่อวงกลมที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๔ เซนติเมตรแล้วดัดให้เป็นรูปเหมือนใบไม้ และหุ้มด้วยผ้าใยบัวสีเขียว ตามรูปค่ะ
6. นำท่อวงกลมมาดัดกลีบดอกให้โค้ง เหมือนดังรูปจ๊ะในรูปพี่พิมเอาแท่งลิปสติดมาทำจ๊ะ เพราะหาได้ง่ายและอยู่ใกล้มือด้วย
7. และก็ดัดกลีบดอกให้เหมือนดังรูปจ๊ะหรือใครจะมีวิธีทำที่ง่ายกว่านี้ก็ได้นะคะ
8. ทีนี่เรามาเริ่มเข้าดอกกันโดยนำดอกตูมที่เราเตรียมไว้ มาเป็นแกนกลางและนำกลีบดอกที่เราโค้งเสร็จเรียบร้อยแล้วมามัดเข้ากับดอกตูมทีละกลีบ ชั้นแรก ทำ ๓ กลีบจ๊ะ ตามรูปนะคะ
9. เสร็จจากชั้นแรก ก็ทำชั้นที่ ๒ ใส่กลีบดอก ๖ กลีบ ทำสับหว่างกับกลีบดอกชั้นแรกเล็กน้อย
10. ชั้นที่ ๓ ต่อนะจ๊ะ ชั้นนี้ใส่กลีบดอก ๗ กลีบจ๊ะ ทำสับหว่างเหมือนกับชั้นที่ ๒ นั้นแหล่ะจ๊ะ
11. ชั้นสุดท้ายแล้วจ๊ะ ชั้นนี้ ใส่กลีบดอก ๘ กลีบนะจ๊ะ
12. เสร็จแล้วพันด้วยฟลอร่าเทปสีเขียวแก่ และติดใบเลี้ยงให้ห่างจากดอก ๒.๕ เซนติเมตร
13. งานนี้ใครจะทำดอกเดียว หรือ หลายดอก จัดเป็นช่อ ดัดให้อ่อนช้อยสวยงามแบบไหนก็ได้ตามใจนะคะ ถ้าจะใส่ดอกตูมก็ทำให้ดอกมีลักษณะใหญ่กว่าดอกตูมที่เราเอามาพันทำกับดอกบานนิดหน่อย และให้พันด้วยฟลอร่าเทปสีเขียวอ่อนต่อจากดอกตูมก่อน ๑ เซนติเมตรและพันต่อด้วยฟลอร่าเทปสีเขียวแก่ และติดใบเลี้ยงเหมือนกับดอกบาน

วันอังคารที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2551

การแกะสลัก

อุปกรณ์ที่ใช้ในการแกะสลัก
1. มีดแกะสลัก ปลายเรียวแหลม ไม่เป็นสนิม
2. มีดบางหรือมีดปอก มีลักษณะปลายมน บางและคม ไม่เป็นสนิม

ตัวอย่างการแกะสลักมะละกอ เป็นรูปดอกไม้และใบไม้




วิธีสร้างสรรค์
ขั้นที่ 1 ออกแบบลวดลายบนผลไม้
ขั้นที่ 2 ฝึกแกะสลักเป็นลวดลายบนผลไม้
ขั้นที่ 3 ตกแต่งรายละเอียดเพิ่มเติม จนเป็นลายที่พอใจ สวยงาม
ขั้นที่ 4 เขียนสรุปความรู้จากกิจกรรมฝึกทักษะสร้างสรรค์งานศิลปะหัวข้อ การแกะสลักวัสดุเนื้ออ่อนจากธรรมชาติเป็นลวดลาย เก็บในแฟ้มสะสมงานของตนเอง

ในการประดิษฐ์ผักและผลไม้ให้มีรูปแบบต่างๆ กันนั้น จำเป็นต้องอาศัยลายพื้นฐานหรือลายแม่แบบเป็นหลัก ลายพื้นฐาน ที่ใช้ในการประดิษฐ์ผักและผลไม้ ได้แก่ ลายรวงข้าว ลายดอกข่า และลายคดกริช เราจะนำลายพื้นฐานเหล่านี้ มาผสมผสานกันเพื่อให้เหมาะสมกับผักและผลไม้ที่จะนำมาประดิษฐ์และโอกาสที่จะใช้ นอก
จากลายพื้นฐานต่างๆ ดังกล่าวมาแล้วยังมีลายและแบบอีกหลายชนิดที่ใช้ในโอกาสต่างๆ อีก เช่น
ก. ลายไทย เป็นการแกะสลักเป็นลายตัวกนกแบบต่างๆ เหมาะสำหรับใช้แกะสลักภาชนะต่างๆ เช่น แจกัน ผอบ
ข. ลายเครือเถา เป็นการแกะสลักผักหรือผลไม้เป็นช่อหรือพวง เช่น การแกะสลักขิงเป็นช่อ หรือการแกะสลักผักหรือผลไม้ที่ใช้เป็นภาชนะ เช่น เป็นผอบ หรือแจกัน
ค. ลายฉลุ เป็นการแกะสลักลายฉลุโปร่ง เช่น การแกะสลักใบไม้ หรือการแกะสลักภาชนะต่างๆ ที่ไม่ต้องใช้บรรจุของที่เป็นของเหลว
ง. ดอกไม้ เป็นการแกะสลักเพื่อใช้ตกแต่งแจกันหรือถาด
จ. ตุ๊กตา เป็นการแกะสลักและประดิษฐ์เป็นตัวตุ๊กตา เพื่อใช้ตกแต่งให้สวยงามและน่ารัก
ฉ. ตัวสัตว์ เป็นการแกะสลักตกแต่งเพื่อให้เกิดความสวยงามและน่ารัก เช่น แกะสลักเป็นนก ปลา เต่า ฯลฯ